วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

                                    วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  28  พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30



          วันนี้เป็นการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายของแต่ละกลุ่มตามหัวข้อที่อาจารย์ได้ให้ไว้ โดยการออกมาเสนอหน้าห้องให้เพื่อนฟัง และแต่ละกลุ่มเลือกวิธีการนำเสนอด้วยโปรแกรม Power Point 


กลุ่มที่ 1 เรื่องจำนวนและการดำเนินการ


          เพื่อนๆกล่าวไว้ว่า การเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวและเด็กก็ต้องการที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เช่น ตัวเลขบนนาฬิกา ตัวเลขต่างๆตามป้ายประกาศ ฯลฯ และความหมายของจำนวนและการดำเนินการ คือ กระบวนการการคิดรวบยอดเรื่องจำนวนจริง อัตราส่วน และอื่นๆและมีการนำตัวอย่างมาให้ดูประกอบเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น


กลุ่มที่ 2 เรื่องการวัด


          การเรียนเรื่องการวัดสำหรับเด็กปฐมวัย เด็กควรเรียนเรื่องง่ายๆเพราะเค้ายังไม่เข้าใจอะไรมาก ควรสอนเด็กแค่เพียง การวัดง่ายเช่น การวัดความยาวของสิ่งของต่างๆ การชั่งน้ำหนักของสิ่งของ การตวงน้ำ เพราะเด็กยังสามารถเข้าใจอะไรลึกซึ้งมาก การสอนการวัดของเด็กอาจไม่ต้องสอนด้วยไม้บรรทัดอาจนำสิ่งของสองอย่างมาวัดและเปรียบเทียบกัน เช่น การวัดหนังสือ ด้วนการนำตุ๊กตามาวางว่าหนังสือเล่มนี้ยาวเท่ากับตุ๊กตา3ตัว ก็จะเป็นการเรียนที่ง่ายและสนุกสนานกับการเรียนมากขึ้น

กลุ่มที่ 3 เรื่องพีชคณิต


             พีชคณติสำหรับเด็กปฐมวัย คือการสอนเกี่ยวกับรูปและความสัมพัธ์ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือมีความสัมพันธ์ที่มีความเกี่ยวข้องกันแบบง่ายๆที่เหมาะสมกับเด็ก


กลุ่มที่ 4 เรื่องเรขาคณิต


               เรขาคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการเรียนง่ายๆเช่น รูปทรง รูปร่าง ซึ่งอาจจะสอนง่ายๆตามสิ่งต่างๆที่เด็กได้พบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี การสอนอาจยกตัวอย่างจากสิ่งรอบๆตัวของเขา อาจจะเป็น ประตู หน้าต่าง กระบอกน้ำ พระอาทิตย์ และอื่นๆ เพื่อให้เด็กเกิดความรู้และความเข้าใจมากขึ้น


กลุ่มที่ 5 เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


       การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น คือ การรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอในรูปแบบง่ายๆของเด็กปฐมวัย รวมทั้งการเปรียบเทียบและการประเมินผล เช่นกัน นำข้อมูลต่างๆมาทำเป็นกราฟที่สามรถให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เพิ่ือเพิ่มความเข้าใจให้แก่เด็ก


ความรู้ที่ได้รับ  

คือ ได้รู้แนวทางในการสอนตณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้นและรู้ว่าควรสอนอะไรบ้างให้แก่เด็กบ้างเพื่อเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาให้แก่เด็ก