วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ    แจ่มถิน


วัน / เดือน / ปี  30 มกราคม 2557
ครั้งที่ 9  เวาลาเรียน 08.30 - 12.20 น.



   เข้าเรียน  08.30

   วันนี้เป็นการนำเสนอสื่อคู่ที่แต่ละคู่ทำ แล้วนำมาเล่าถึงกิจกรรมที่ตนได้ไปทำมา


ผลงานสื่อของคู่เรา   :   โดมิโนจำนวนนับ


วิธีการเล่น คือ ให้เด็กนำจำนวนหรือตัวเลขที่มีค่าเท่ากันมาต่อเรียงกัน หากใครหมดก่อนก็เป็นผู้ชนะ



งานสื่อที่ฉันชื่นชอบ  :  จับคู่ภาพกับตัวเลข




และนี้คือผลงานของเพื่อน 103 






















การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้

1. ได้แนวคิดที่หลายหลายในการสร้างสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. ทักษะต่างๆในการสร้างสื่อ
3. เทคนิคการนำสื่อไปใช้ในการสอน


วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิน


วัน / เดือน / ปี 23 มกราคม 2557
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


เวลาเข้าสอน 08.30 น.    เวลาเข้าเรียน 08.30 น.


                      กิจกรรมที่ทำในวันนี้คือ การเขียนแผนการสอนที่สอนคล้องกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5  คน ให้เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแผนการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย แต่เนื่องจากการสอนคณิตศาสตร์ไม่มีแผนการสอนเป็นรายวิชาที่ชัดเจนแต่เป็นการสอนแบบบูรณาการในการเล่น ที่บูรณาการการเล่นรวมกับการเรียนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็ก โดยการเขียนแผนคณิตศาสตร์นั้นจะแทรกเข้าไปในกิจรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมในแต่ละวัน ดังนั้นการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรสอนในเรื่องที่ไม่ยากเกินไปจำเป็นสำหรับตัวเด็กและเหมาะสมกับตัวเด็ก เช่น การนับจำนวน การแยกแยะ การจำแนก และอื่นๆ

การเขียนแผนประกอบด้วย

1. วัตถุประสงค์
2. สาระการเรียนรู้
3. กิจกรรมการเรียนรู้
4. สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้
5. การวัดและการประเมินผล
6. การบูรณาการ


การเขียนแผนกลุ่ม



แผนเดี่ยว



     การเขียนแผนครั้งนี้มีประโยชน์มากเพราะทำให้รู้วิธีการเขียนที่ถูกต้องและให้มีความสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ต้องทำในอนาคตเพราะการเขียนแผนสำคัญมากต่อการสอนและสำหรับคนที่จะเป็นครูต้องรุ้และควรรู้เอาไว้ 

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี 16 มกราคม 2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

เวลาเข้าสอน 08.30 น.    เวลาเข้าเรียน 08.30 น.


               วันนี้ไม่มีเนื้อหาการเรียนแต่มีกิจกรรมที่ทำร่วมกันกับเพื่อนๆในห้อง 2 ชิ้น ซึ้งสอดคล้องกับวิชาคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยกิจกรรมแรกเป็นกิจจกรรมที่นำกระดาษมาสร้างผลงานโดยใช้กระดาษสีต่อมาเป็นรูปภาพโดยมีขอบเขตว่าต้องเป็นงานที่เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่ 1 จำนวน สาระการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องเรขาคณิต และสาระที่ 4 พีชคณิต 

กิจกรรมที่ 1  ชื่อว่า รถไฟปู๊น ปู๊น ปู๊น

คำสั่งคือ : แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5-6 คน แลัวสร้างผลงานที่เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่ 4 พีชคณิต

อุปกรณ์คือ
  1. กระดาษร้อยปอนด์
  2. กระดาษสี 
  3. สีเมจิก สีไม้
  4. กาว กรรไกร 

วิธีทำ
   นำกระดาษมาตัดตามรูปทรงที่เราต้องการแล้วนำกาวมาติดตามพีชคณิตที่เราเลือกไว้ว่าจะเรียงการสีไหนไปสีไหน หรือรูปทรงแบบใด ตกแต่งให้สวยงามตามต้องการ



และนี้คือผลงานของกลุ่มเรา 



ผลงานของเพื่อนๆในห้อง




 กิจกรรมที่ 2 ระดมความคิด

   คำสั่ง แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 10 คน ให้แต่ละกลุ่มตั้งหัวข้อเพื่อทำแผนภูมิให้เพื่อนๆในห้องได้ออกมาช่วยกันคิดและแสดงความคิดเห็น








       กิจกรรมที่ทำวันนี้สนุกสนานมากได้ทั้งสาระความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรงานที่เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อนนำไปใช้ในอนาคตข้างหน้า








วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

                                          วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  9 มกราคม  2557
ครั้งที่  6  เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


เวลาเข้าสอน 08.30   เวลาเข้าเรียน 08.30

                   กิจกรรมที่ทำในวันนี้คือ อาอจารย์ให้เพื่อนๆห้องห้องร่วมกันแต่งนิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์เป็นผู้เริ่มต้นเนื้อเรื่องขึ้นมาก่อน และจากนั้นก็ให้เพื่อนๆร่วมกันนำเสนอเนื้องเรื่องต่อๆๆมา และเมื่อจบอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ให้หัวหน้าออกมาจับฉลากว่าตนเองได้หน้าไหน โดยมีทั้งหมด 9 หน้า เนื้อเรื่องทั้งหมด 8 แผ่น รวมหน้าปกอีก 1 เป็น 9 เมื่อจับได้แล้วก็ให้แต่ละกลุ่มออกมาเอาอุปกรณ์ไปวาดภาพตามที่กลุ่มตนเองได้ 

อุปกรณ์
  -  กระดาษร้อยปอนด์ 1 แผ่น 
  -  สีไม้
  -  สีเมจิก

นิทานเรื่อง สามเกลอเจอกัน
        
       กาลครั้งหนึ่งมีเพื่อนสามสหายชื่อว่า สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม ทั้งสามมีบุคลิกที่แตกต่างกัน เจ้าสามเหลี่ยมมีอารมณ์ที่ขี้โมโห เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นคนใจกว้าง และเจ้าวงกลมเป็นคนเจ้าชู้ อยุ่มาวันหนึ่งทั้งสามได้ไปเที่ยวผับกันแต่พอเข้าไปแล้วเจ้าสามเหลี่ยมก็รู้สึกหงุดหงิดเพราะข้างในผับเสียงดัง ส่วนเจ้าสี่เหลี่ยมก็อยู่เฉยๆ แต่เจ้าวงกลมนั้นเอาแต่จีบสาวๆ คนในผัลกำลีงเคาท์ดาวกันอยู่ แต่อยู่ๆก็มีแก๊สน้ำตาถูกโยนเข้ามาในผับ เจ้าสี่เหลี่ยมก็เลยเป่านกหวีดเพื่อบอกให้เพื่อนๆอยู่ในความสงบ เจ้าวงกลมตะโกรบอกเพ่ือนๆให้เอาผ้าปิดจมูก เจ้าสามเหลี่ยมวิงไปจับคนที่คว้างแก๊สน้ำตา แล้วทุกคนก็ทยอยออกมาจากผับและทุกคนก็แยกย้ายกันกลับบ้านอย่างปลอดภัย


ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวันนี้คือ

     ได้เรียนรู้ทักษาะการแต่งนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยว่าควรมีลักษณะอย่างไหร่ และการวาดภาพหรือระบายสีควรเป็นอย่างไร พร้อมทั้งได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน วันนี้ฉันม่ความสุขมาก 



และนี้ก็คือผลงานของกลุ่มฉัน



 

ผลงานของเพื่อนๆในห้อง เสร็จสมบูรณ์









วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

                                    วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  28  พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30



          วันนี้เป็นการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายของแต่ละกลุ่มตามหัวข้อที่อาจารย์ได้ให้ไว้ โดยการออกมาเสนอหน้าห้องให้เพื่อนฟัง และแต่ละกลุ่มเลือกวิธีการนำเสนอด้วยโปรแกรม Power Point 


กลุ่มที่ 1 เรื่องจำนวนและการดำเนินการ


          เพื่อนๆกล่าวไว้ว่า การเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวและเด็กก็ต้องการที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เช่น ตัวเลขบนนาฬิกา ตัวเลขต่างๆตามป้ายประกาศ ฯลฯ และความหมายของจำนวนและการดำเนินการ คือ กระบวนการการคิดรวบยอดเรื่องจำนวนจริง อัตราส่วน และอื่นๆและมีการนำตัวอย่างมาให้ดูประกอบเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น


กลุ่มที่ 2 เรื่องการวัด


          การเรียนเรื่องการวัดสำหรับเด็กปฐมวัย เด็กควรเรียนเรื่องง่ายๆเพราะเค้ายังไม่เข้าใจอะไรมาก ควรสอนเด็กแค่เพียง การวัดง่ายเช่น การวัดความยาวของสิ่งของต่างๆ การชั่งน้ำหนักของสิ่งของ การตวงน้ำ เพราะเด็กยังสามารถเข้าใจอะไรลึกซึ้งมาก การสอนการวัดของเด็กอาจไม่ต้องสอนด้วยไม้บรรทัดอาจนำสิ่งของสองอย่างมาวัดและเปรียบเทียบกัน เช่น การวัดหนังสือ ด้วนการนำตุ๊กตามาวางว่าหนังสือเล่มนี้ยาวเท่ากับตุ๊กตา3ตัว ก็จะเป็นการเรียนที่ง่ายและสนุกสนานกับการเรียนมากขึ้น

กลุ่มที่ 3 เรื่องพีชคณิต


             พีชคณติสำหรับเด็กปฐมวัย คือการสอนเกี่ยวกับรูปและความสัมพัธ์ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือมีความสัมพันธ์ที่มีความเกี่ยวข้องกันแบบง่ายๆที่เหมาะสมกับเด็ก


กลุ่มที่ 4 เรื่องเรขาคณิต


               เรขาคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการเรียนง่ายๆเช่น รูปทรง รูปร่าง ซึ่งอาจจะสอนง่ายๆตามสิ่งต่างๆที่เด็กได้พบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี การสอนอาจยกตัวอย่างจากสิ่งรอบๆตัวของเขา อาจจะเป็น ประตู หน้าต่าง กระบอกน้ำ พระอาทิตย์ และอื่นๆ เพื่อให้เด็กเกิดความรู้และความเข้าใจมากขึ้น


กลุ่มที่ 5 เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


       การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น คือ การรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอในรูปแบบง่ายๆของเด็กปฐมวัย รวมทั้งการเปรียบเทียบและการประเมินผล เช่นกัน นำข้อมูลต่างๆมาทำเป็นกราฟที่สามรถให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เพิ่ือเพิ่มความเข้าใจให้แก่เด็ก


ความรู้ที่ได้รับ  

คือ ได้รู้แนวทางในการสอนตณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้นและรู้ว่าควรสอนอะไรบ้างให้แก่เด็กบ้างเพื่อเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาให้แก่เด็ก







วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

                                     วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  14  พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.




เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30



การเรียนการสอนวันนี้

            การเรียนการสอนวันนี้ เรียนเกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าระบบการคิดของคนเราที่เป็นการคิดอย่างมีเหตุผล เรียนรุ้ที่จะเข้าใจ และการสอนวิชาคณิตศาตรฺ์ก็มีความสัมพันธ์กับด้านภาษาของเด็กปฐมวัย เพราะมีทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน จำนวน ตัวเลข การวิเคราะห์และความน่าจะเป็นในความเป็นจริง ช้ความคิดอย่างมีเหตุผล
            ความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ เพราะมีผลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล และยังเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
            และยังมีทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของนักทฤษฎีต่างๆ เช่น Piaget ( ทฤษฏีพัฒนาการตามลำดับขั้น ) และยังมีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ของเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับวิชาณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น การนับ การจับคู่ การเปรียบเทียบ เรียงลำดับ การจัดกลุ่ม 
              สุดท้ายคือหลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องมีการเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดหรืออธิบาย สอนผสมกับการเล่น การได้ลงมือทำจริง ฝึกให้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจให้แก่เด็ก คนเป็นครูควรใช้คำถามที่เป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิดของตนเอง และสุดท้ายเชื่อมโยงวิชาคณิตศาตร์เข้าไปในชีวิตประจำวันของเด็กให้ได้

กิจกรรมในห้องเรียน
              
             อาจารย์แจกกระดาษคนละ1แผ่นพร้อมสี โดยสั่งว่าให้วาดภาพสัตว์ที่มีขา เพื่อนๆแต่ละคนก็ตั้งใจวาดกันมาก บางคนก็วาดสัตว์ที่มี2ขา บางคนก็หลายขา แต่ที่มากที่สุดน่าจะเป็นกิ้งกือซึ่งมีหลายขามาก แต่พอวาดเส๊ดแล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษสีและกาวพร้อมมีคำสั่งว่าให้ใส่รองเท้าให้กับสัตว์ที่เราวาด ส่วนสัตว์ของฉันนั้นมีแค่4ขาก็คงไม่ยากเท่าไหร่ แต่สงสารเพื่อนที่วาดหลายขาจังจะใส่ยังไงให้เสร็จ พอวาดเสร๊จก็ให้ออกมาเล่าให้เพื่อนๆฟังว่า การที่เราวาดภาพนั้นเราสามารถสอนวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร ส่งเสริมอะไรเด็กบ้าง 





ผลตอบรับที่ได้

             วันนี้มีความสุขและสนุกสนานเพลิดเพลินมาก กับการวาดภาพและการสอนของอาจารย์ และสิ่งที่อาจารย์สอนในวันนี้ก็มีประโยนช์มากสามารถให้ฉันนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการสอน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

                                                               วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี 7  พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.




เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30



วันนี้อาจารย์อธิบายแผนการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ว่าในรายวิชานี้ต้องเรียนอะไรบ้าง และมีงานหรือการบ้านอะไร เกณฑ์การให้คะแนน และเล่าถึงการเรียนวิชานี้ว่าจะมีการเรียนการสอนอย่างไรบ้างและแต่ละสัปดาห์ต้องทำอะไรบ้าง โดยการอธิบายคร่าวๆ จากนั้นก็แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ1แผ่น พร้อมสีไม้ สีเมจิก พร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายคือทำ
 Mind Mapping   เกี่ยวกับวิชานี้


กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน

ทำ Mind Mapping เกี่ยวกับความคาดหวังที่จะได้จากวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หรือคิดว่าเด็กๆปฐมวัยจะเรียนอะไรบ้างในวิชาคณิตศาสตร์ ตามความคิดของตนเองและส่งก่อนจะปล่อยกลับบ้าน